ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมา
ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กำหนดให้นักศึกษา เรียนด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้เป็นหลัก นักศึกษาจึงต่างคนต่างเรียนอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ โอกาสที่จะรู้จักกับเพื่อนในท้องถิ่นที่เรียนร่วมวิชาเอก หรือสาขาวิชาเดียวกัน จึงมีน้อย หรือเมื่อมีปัญหาด้านการเรียนต้องการจะไต่ถามจากอาจารย์ผู้สอน แม้จะติดต่อได้ทางไปรษณีย์ ทางโทรศัพท์ และจากการเข้ารับการสอนสริมในวันเสาร์-อาทิตย์แต่ก็มีข้อจำกัด มหาวิทยาลัยจึงเห็นว่านักศึกษาในแต่ละท้องถิ่นน่าจะได้รวมตัวกันกระทำกิจกรรมเพื่อจะได้มีโอกาสรู้จักกัน ช่วยเหลือกันทางด้านวิชาการ และด้านอื่นๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนของนักศึกษาต่อไป มหาวิทยาลัยจึงได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมนักศึกษาจังหวัดละ 1 ชมรม
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งชมรม
2.1 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ช้อมูลข่าวสาร กิจกรรม และเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยแก่นักศึกษา
2.2 เป็นศูนย์กลางในการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นด้านวิชาการและวิชาชีพ ระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา และนักศึกษากับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย
2.3 ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับนักศึกษาและระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา
2.4 ให้บริการ ให้ความร่าวมมือด้านวิชาการ วิชาชีพ ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาและชุมชน
การจัดตั้งองค์กรนักศึกษา ในรูปแบบชมรมนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้แต่ละชมรมนักศึกษามี คณะกรรมการบริหารชมรมที่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกที่เข้าประชุมใหญ่สามัญฃประจำปี ให้ทำหน้าที่บริหารภายใต้ประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าด้วยการดำเนินกิจกรรมชมรมนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และระเบียบว่าด้วยการดำเนินงานชมรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปี 2540 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งวาระหนึ่ง หรือสองปี
โครงสร้างคณะกรรมการบริหารชมรมนักศึกษา
มหาวิทยาลัยได้กำหนดโครงสร้างคณะกรรมการบริหารชมรมนักศึกษาตามตำแหน่ง ดังนี้
1. ประธานกรรมการ จำนวน 1 คน
2. รองประธานกรรมการ จำนวนไม่เกิน 3 คน
3. กรรมการ จำนวนไม่เกิน 11 คน
4. เหรัญญิก จำนวน 1 คน
5. ประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 คน
6. นายทะเบียน จำนวน 1 คน
7. เลขานุการ จำนวน 1 คน
หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารชมรมนักศึกษา
ในการกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารชมรมนักศึกษา ดังนี้
1. ประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารงานชมรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มอบหมายงาน ติดตาม ควบคุมงาน วางแผน จัดทำงบประมาณ
2. รองประธาน มีหน้าที่บริหารงานในส่วนที่ได้รับมอบหมาย และมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธาน ทำหน้าที่แทนประธาน เมื่อประธานไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ กรณีมีรองประธานมากกว่า 1 คน ให้ประธานระบุรองประธานที่จะปฏิบัติหน้าที่แทน
6. เลขานุการ มีหน้าที่ดำเนินงานฝ่ายธุรการ และกิจกรรมบริหารโดยทั้วไปประสานงานกับส่วนต่างๆ ของชมรม จัดทำระเบียบวาระ และงานประชุม
3. เหรัญญิก มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการเงิน เก็บรักษาเงิน ทำบัญชีการเงิน ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ สรุปรายงานการเงินแก่สมาชิก ตลอดจนการเรียนเก็บเงินค่าบำรุงสมาชิกเมื่อถึงกำหนด
4. ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของชมรมนักศึกษาให้สมาชิกทราบ
5. นายทะเบียน มีหน้าที่รับผิดชอบในการรับสมัครสมาชิก จัดทำและรักษาทะเบียนสมาชิก รายงานจำนวนสมาชิกกับมหาวิทยาลัย
กรรมการกลาง อาจเป็นผู้แทนนักศึกษาจากสาขาวิชาต่างๆ มีหน้าที่เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นในการประชุมของคณะกรรมการบริหาร และช่วยเหลือปฏิบัติงานตามหน้าที่ประธาน หรือคณะกรรมการมอบหมายสำหรับกรรมการตำแหน่งอื่นๆ ก็อาจจะปฏิบัติงานในส่วนที่เฉพาะเจาะจงตามลักษณะงานที่แตกต่างกนไปตามที่ได้รับมอบหมายให้สอดคล้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของชมรมและมหาวิทยาลัย
ขั้นตอนการจัดตั้งชมรมนักศึกษา
1. รวบรวมนักศึกษาที่มีความสนใจจะตั้งชมรมนักศึกษา ซึ่งอาจเรียกว่า “กลุ่มแกนนำ” ดำเนินการรวบรวมนักศึกษาที่มีความสนใจจะตั้งชมรม ด้วยวิธีการติดต่อด้วยตนเอง หรือให้มหาวิทยาลัยส่งข่าวให้ ดังนี้
1.1 การติดต่อด้วยตนเอง ติดต่อได้จากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ กิจกรรมสอนเสริม กิจกรรมการสอบ และการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุกระจายเสียง หรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
1.2 การให้มหาวิทยาลัยส่งข่าวให้ โดยระบุข้อความที่ต้องการส่งข่าวถึงเพื่อนนักศึกษาที่อยู่ในจังหวัดที่จะตั้งชมรมไปที่งานกิจกรรมนักศึกษา ฝ่ายกิจการนักศึกษา สำนักบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อจะได้ดำเนินการจัดส่งข้อความเหล่านั้นไปยังนักศึกษาให้อีกต่อหนึ่ง
2. กำหนดวันประชุม โดยกลุ่มแกนนำนัดหมายเชิญประชุมกลุ่มผู้สนใจเพื่อเริ่มงานจัดตั้งชมรมนักศึกษา
3. ดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการชมรมนักศึกษา โดยการประชุมควรพิจารณาวัตถุประสงค์ และการดำเนินการตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ ผู้ที่เป็นสมาชิกก่อตั้งชมรม และสมาชิกของชมรมจะต้องยอมรับว่าชมรมไม่มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายสินค้าหรือเพื่อหากำไรจากสมาชิก และดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการชมรมนักศึกษา ประกอบด้วยประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และกรรมการกลาง พร้อมร่างระเบียบการดำเนินงาน และให้ที่ประชุมรับรองหรือพิจารณา
4. รายงานผลการเลือกตั้งให้มหาวิทยาลัยทราบ โดยประธานชมรมนักศึกษาแจ้งรายชื่อทีอยู่ของคณะกรรมการชมรมนักศึกษาและระเบียบการดำเนินงานไปที่งานกิจกรรมนักศึกษาฝ่ายกิจการนักศึกษา เพื่อทราบและพิจารณาว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ
5. จัดทำหนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมนักศึกษา เมื่อมหาวิทยาลัยได้พิจารณาว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ ก็จะมีหนังสือตอบรับและประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการมอบให้ชมรมรมนักศึกษา
6. คณะกรรมการชมรมนักศึกษาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ประกาศ และระเบียบการดำเนินงานชมรมนักศึกษามหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช
ประเภทของกิจกรรมชมรมนักศึกษา
1. กิจกรรมวิชาการ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันทางวิชาการในการเรียนให้ประสบความสำเร็จ เช่น โครงการเรียนอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนเรียน โครงการเตรียมตัวก่อนสอบ ห้องสอบจำลอง และการส้มมนาผู้นำชมรมนักศึกษา
2. กิจกรรมด้านกีฬาและการส่งเสริมสุขภาพ เช่นกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ชมรมนักศึกษา และกีฬาพื้นบ้าน
3. กิจกรรมด้านบำเพ็ญประโยชน์และการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นกิจกรรมออกค่ายอาสาพัฒนา ค่าย มสธ. เขียวทองสัมพันธ์ กิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ และกิจกรรม มสธ. ร่วมใจต้านภัยหนาว
4. กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม เช่นกิจกรรมค่ายธรรมะกับชมรมนักศึกษา
5. กิจกรรมด้านส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมไหว้ครูในวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ กิจกรรมรดน้ำดำหัวคณาจารย์ในวันสงกรานต์ กฐินพระราชทาน และงานวันลอยกระทง เป็นต้น
ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมนักศึกษา
1. มีเพื่อนเรียนไม่ว้าเหว่
2. ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่
3. มีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตัวเอง
4. มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
5. เรียนรู้ที่จะรู้จักการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน
6. มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่น